วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Multipoint

  Multipoint เป็น Technology ที่ทาง Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถต่อเชื่อมกับ mouse ได้มากกว่า 1 ตัว จนถึง 250 ตัว สามารถทำได้โดยการใช้ Microsoft Office PowerPoint 2003/2007 และติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ Multipoint คือ MithyMice โปรแกรมนี้จะใช้สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาที่มีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนน้อย เช่น Computer 1 ตัว ต่อ นักเรียน 40 คน เมื่อนำ Multipoint เข้ามาใช้จึงทำให้ Computer 1 เครื่อง สามารถถูกใช้งานได้พร้อมกันจากนักเรียน 40 คน

         ณ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีในการจัดการสอนของครูมีมากมาย เพื่อจะให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียน เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนา คิดค้น จากบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ หรือ นักคอมพิวเตอร์ผู้มากด้วยความสามารถหลาย ๆ คน
แต่ สิ่งหนึ่งในการที่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มให้การเรียนของนักเรียนมีความน่าสนใจนั้นก็คือ โรงเรียนต้องมีความพร้อมทางเทคโนโลยีพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ มีเพียงพอสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษา หากเราไม่นับโรงเรียนเด่น โรงเรียนดังระดับจังหวัด อำเภอ ที่มีนักเรียนเป็นพัน ๆ คน มีห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ จำนวนหลายห้องแล้ว ประเทศไทยยังมีโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียนอีกมากมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก , โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งหากใช้โปรแกรม
Multipoint แล้ว จะสามารถพัฒนาการสอนของครูผู้สอน และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อม ๆ กัน จากคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่อง

หลักการใช้ Multipoint
-  ในห้องเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง , มี mouse (เม้าส์) จำนวนเท่ากับนักเรียนในชั้นเรียน 1 ห้อง-  ครูเตรียมการสอนโดยใช้ Multipoint-  เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมระหว่างเรียน หรือ การถามตอบ นักเรียนสามารถทำได้พร้อม ๆ กัน นักเรียนสนุก และมีความพร้อมในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้ทำกิจกรรมในระหว่างการเรียน ทำให้ไม่เบื่อการเรียน-  ลดปัญหาการขาดแคลนคอมพิวเตอร์ในการสอนได้

         
        
อุปกรณ์ที่จำเป็น

-  Usb Hub ชนิดมีอะเดปเตอร์ (ไฟเลี้ยง) เนื่องจากต้องต่อเม้าส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ ไปให้นักเรียนได้ใช้จำนวนหลายตัว ดังนั้น Usb Hub ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเม้าส์ ควรจะต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อไม่ให้ดึงไฟจากเครื่องพิวเตอร์ อาจทำให้เครื่องพิวเตอร์ทำงานหนักเพิ่มขึ้น อาจทำให้เม้าส์ไม่ทำงาน-  เครื่องคอมพิวเตอร์-  โปรเจคเตอร์ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากไม่มีหรือไม่ใช้ ก็ใช้ทีวีแทนได้เช่นกัน  

E - learning

E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
          สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
          สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
          ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ

การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning

          ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

          E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้

เวลาของการศึกษาออนไลน์
           การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ

อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
          สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้

ประเภทของe-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
          2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
         
           ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
          ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
          
           ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้
          
ประโยชน์จาก E-learning
          1 ความรู้ไม่สูญหายไปกับคนเพราะสามารถเก็บไว้ได้
          2 ประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่าย
          3 ผู้เรียนเลือกได้ว่าต้องการเรียนกับอาจารย์ท่านใดหรือหลายท่านก็ได้

ขั้นตอนการดำเนินการสร้างนวัตกรรม

 1.   ขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน

1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การเก็บรวบรวมข้อมูล  เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนจัดทำนวัตกรรม 

1.2  ออกแบบ เขียนแบบ    เตรียมวัสดุ  เตรียมอุปกรณ์  เครื่องมือ  จัดเตรียมบุคลากรและงบประมาณให้เหมาะสมเพียงพอกับการวางแผนจัดทำนวัตกรรม

1.3 พิจารณาลำดับ  การทำงานแต่ละขั้นตอนต้องใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม  เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร  ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการทำงานแต่ขั้นตอนให้คุ้มค่ามากที่สุด  เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมการหรือเพื่อวางแผนการทำงานต่อไป

2.   ขั้นดำเนินการ

2.1 ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้

2.2 ตรวจสอบและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในรายการ 

2.3 พิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติ 

2.4 ออกแบบและพิจารณาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม

3.  ขั้นตรวจสอบ        

          1. ตรวจสอบความพร้อมของวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  บุคลากร  ฯลฯ  หากพบว่าไม่พร้อมให้แก้ไขทันที

          2. ตรวจสอบวิธีการทำงานแต่ละขั้นตอน  เพื่อต้องการทราบว่าขั้นตอนการทำงานเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้หรือไม่  เช่น  การใช้เครื่องมือ  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์ให้เหมาะสม  เกิดประโยชน์  ประหยัดเป็นต้น  อีกทั้งต้องมีความปลอดภัย  หากการทำงานแต่ละขั้นตอนไม่เรียบร้อยจะต้องหาวิธีแก้ไขทันที

            4.  ขั้นพัฒนา ปรับปรุง

          ขั้นนำผลการปฏิบัติงานในส่วนที่ประสานผลสำเร็จมาใช้  โดยจะนำจุดเด่นของการงานมาออกแบบหรือจัดทำนวัตกรรม  เพื่อพัฒนาให้งานมีผลผลิตสูงขึ้น  หรือในกรณีที่ผลงานประสบปัญหา  ต้องนำปัญหามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการทำงานต่อไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

หลักการตรวจสอบและประเมินผลการทำงาน

1.  การประเมินก่อนการดำเนินการ  เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในการทำงานตั้งแต่วัตถุประสงค์ในการทำงาน  ทรัพยากรที่ใช่ในการทำงาน  ได้แก่วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  งบประมาณ  ความพร้อมของบุคลากร  สถานที่ทำงาน  ว่ามีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่  เพียงใด  การประเมินดังกล่าวได้แก่การสอบถาม  สังเกต  หรือสัมภาษณ์

2.  การประเมินระหว่างดำเนินการ  เป็นการประเมินกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่

ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  เป็นการประเมินตามสภาพความเป็นจริงของการทำงาน  โดยสังเกต  สอบถาม  หรือสัมภาษณ์

            3.  การประเมินหลังการดำเนินการ  เป็นการประเมินความสำเร็จของการวางแผนการทำงานหรือผลงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์  มีความคิดสร้างสรรค์  มีความสวยงาม  มีความคงทน  ผลงานสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด  ฯลฯ  การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินตามสภาพความเป็นจริง 

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

บทความทางวิชาการเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา ในรายวิชา 1065703 การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอต่ออาจารย์สมคิด

ความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิชานี้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาองค์กรในแง่ของระบบสารสนเทศ ความสำคัญและบทบาทของระบบสารสนเทศในการบริหาร การสื่อสารและเครือข่ายการสร้างระบบสารสนเทศ นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา การนำนวัตกรรมมาใช้ใน การบริหารการศึกษา นวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ การบริหารระบบสารสนเทศ และการบริหารระบบสารสนเทศในองค์กรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เอกสารฉบับนี้ จึงได้นำมาประมวลเป็นเอกสารบทความฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาต่อไป

มนัญญา แย้มอรุณ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 5 . วันที่ 7 กันยายน 2550

คำนำ (1)
สารบัญ (2)
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง 1
ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง 2
แนวคิดที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยี 11
โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว 13
ผลที่วัดได้จากการพัฒนา 15
ข้อเสนอแนะต่อองค์กร 15
บทสรุป 14
เอกสารอ้างอิง 15


(2)
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน
ในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
บทนำ
การบริหารงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการศึกษาหรือการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้มากมาย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารและพัฒนาการทางเทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ที่ตามทันเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษา การบริหารงาน หรือแม้แต่การทำงานทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบัน เราจะพบว่าทุกหน่วยงานได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้พร้อมทั้งติดตั้งอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน การเก็บข้อมูลประชาชน การเก็บข้อมูลพื้นฐาน การจัดซื้อจัดจ้าง การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้กับประชาชน ตลอดจนการให้ประชาชนใช้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีด้วย ผู้บริหารที่ไม่สนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการให้บริการประชาชน จะทำให้ประชาชน ขาดโอกาสในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ขาดโอกาสที่จะรับรู้ข่าวสารและความก้าวหน้าต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วหากปล่อยให้เวลาผ่านไปมากประชาชนก็จะกลายเป็นคนตกยุคไปเลย
บทความนี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลให้มีความรู้จากการใช้อินเตอร์เน็ต การนำเทคโนโลยีมาให้บริการประชาชนในการจัดเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะนำเสนอเกี่ยวกับเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของทุกกองงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น บทความฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้ให้ประชาชนได้รับทราบถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบล สวนผึ้ง ในบทความฉบับนี้ จะนำเสนอในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยี
3. โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว
4. ผลที่วัดได้จากการพัฒนา
5. ข้อเสนอแนะต่อองค์กร
1

ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
1. ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
1.1.1 สภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลสวนผึ้ง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล มีชื่อว่า “ สุขาภิบาลสวนผึ้ง ” ซึ่งได้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2528 ตามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาฯ ฉบับ - เล่ม 103 ตอนที่ 39 หน้าที่ - ลงวันที่ 11 มีนาคม 2529 โดยมีพื้นที่ครอบคลุมหมู่บ้านที่ 1 หมู่บ้านที่ 2 และหมู่บ้านที่ 4 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เทศบาลตำบลสวนผึ้ง ได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลสวนผึ้ง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542
ที่ตั้ง เทศบาลตำบลสวนผึ้ง มีพื้นที่ 9.34 ตารางกิโลเมตร รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน คือ ตำบลสวนผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1บ้านบ่อ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก และหมู่ที่ 4 บ้าน นาขุนแสน
1.1.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ จรดบ้านห้วยคลุม หมู่ที่ 6 และบ้านนาขุนแสน หมู่ที่ 4
ทิศใต้ จรดบ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 2 และลำห้วยภาชี
ทิศตะวันออก จรดบ้านนาขุนแสน หมู่ที่ 4 ทั้งหมด และสะพานลำห้วยภาชี
ทิศตะวันตก จรดบ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 2 และบ้านแม่สลิ้ง หมู่ที่ 1
1.1.3 เนื้อที่ ประมาณ 9.34 ตารางกิโลเมตร
1.1.4 ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับที่ราบเชิงเขาเล็กน้อย มีป่าโปร่งตามภูเขาใน
พื้นที่ทั่วไป ในช่วงฤดูฝนจะเกิดอุทกภัยทุกปี เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้น้อยไม่สามารถเก็บน้ำได้
- ฤดูฝน ฝนตกประมาณเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ปริมาณฝนตกไม่มาก เนื่องจากมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นอยู่
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ธันวาคม – มกราคม จะมีอากาศเย็น – ค่อนข้างหนาว
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จะมีอากาศค่อนข้างร้อน
1.1.5 จำนวนหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านบ่อ (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 4 บ้านนาขุนแสน (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
2
1.1.6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง
1.1.7 ประชากร
ราษฎรดั้งเดิมเป็นชนพื้นเมือง ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ มีประชากรทั้งสิ้น 3,013 คน แยกเป็นชาย 1,533 คน หญิง 1,480 คน จำนวนครัวเรือน 1,196 หลังคาเรือน (ยอด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2550)
1.2. สภาพทางเศรษฐกิจ
1.2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักซึ่งประกอบด้วย
- การทำพืชไร่ยืนต้น คือ ส้มโอ,ลำไย,ขนุน,มะม่วง,มะขามหวาน,ยูคาลิปตัส,สะเดา
- การทำพืชไร่ล้มลุก คือ มันสำปะหลัง,ฟักทอง,ฝ้าย,ข้าวโพด,พุทรา,กล้วย,สับปะรด,อ้อย,ผักกาดหัว
- การเลี้ยงสัตว์ คือ ไก่ โค กระบือ สุกร ปลา
- อาชีพค้าขาย เช่น ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มตำ ร้านเบอเกอรี่
1.2.2 หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- มีที่พักนักท่องเที่ยว 2 แห่ง ได้แก่ บ้านทรัพย์คณารีสอร์ท , ยาดารีสอร์ท
- มีร้านอาหาร 3 แห่ง ได้แก่ ร้านครัวตะนาวศรี, ร้านครัวกะเหรี่ยง , ครัวกะหร่าง
1.2.3 ศูนย์ฝึกอาชีพ - แห่ง
1.2.4 สหกรณ์ 1 แห่ง
1.3 สภาพทางสังคม
1.3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ จำนวนนักเรียน 719 คน
2) โรงเรียนวัดนาขุนแสน จำนวนนักเรียน 150 คน
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จำนวนนักเรียน 1,103 คน
1.3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
- โบสถ์ จำนวน 1 แห่ง

3
1.3.3 สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 %
1.3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอสวนผึ้ง 1 แห่ง
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 137 1 แห่ง
1.4 การบริการพื้นฐาน
1.4.1 การคมนาคม
อำเภอสวนผึ้ง เป็นอำเภอติดชายแดนประเทศพม่า เมื่อเดินทางจากกรุงเทพฯ มาตามถนนเพชรเกษม เลี้ยวซ้ายถนนสายจอมบึง ติดต่อกับอำเภอจอมบึง และกิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร โดยมีถนนลาดยางสายสำคัญ ถนนราชบุรี – ผาปก ซึ่งเป็นสายหลักระหว่างอำเภอสู่จังหวัดจะมีรถวิ่งประจำทางสาย บ้านบ่อ – ราชบุรี ทุก ๆ 30 นาที
1.4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอสวนผึ้ง 1 แห่ง
- โทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาลหลายจุด
1.4.3 การไฟฟ้า
- สำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอจอมบึง - สวนผึ้ง
- บ้านเรือนในเขตพื้นที่มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน
1.4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำ 1 แห่ง
- ลำห้วย 2 แห่ง
1.4.5 การประปา
- มีระบบประปาภูมิภาคสวนผึ้ง ให้บริการกับประชาชนทุกครัวเรือน
1.4.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- มีรถดับเพลิง 2 คัน และรถบรรทุกน้ำ 1 คัน ดูแลรับผิดชอบดับเพลิงไหม้ในเขตและนอกเขตเทศบาล และบรรทุกน้ำแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ
4
1.5 ข้อมูลอื่นๆ
1.5.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
- ป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง,ไม้รัง,ไม้ประดู่,ป่าไผ่,และกล้วยไม้ต่าง ๆ
- สัตว์ป่า เช่น ช้าง,เก้ง,เลียงผา,หมูป่า,กระจง,หมี,ลิง,ค่าง,ชะนี,ไก่ป่า,และนก
- แร่ธาตุ เช่น ดีบุก,วุลแฟรม,เลสปาร์,ฟลูร์ไมกา,คอวร์ท
1.5.2 กองทุนส่งเสริมอาชีพ
- กองทุนหมู่บ้านละหนึ่งล้าน (กทบ.)
- กองทุนหมู่บ้านละแสน
1.5.3 กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มผู้ปลูกผัก
- กลุ่มจักรสาน
- กลุ่มเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มทอผ้า
- กลุ่มปลูกข้าวโพด
2. ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพของเทศบาล
1. จำนวนบุคลากร
จำนวน 44 คน
ตำแหน่งในสำนักปลัด จำนวน 18 คน
ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน 6 คน
ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน 4 คน
ตำแหน่งในกองสาธารณสุข จำนวน 10 คน
ตำแหน่งในกองการศึกษา จำนวน 6 คน
2. ระดับการศึกษาของบุคลากร
ประถมศึกษา จำนวน 9 คน
มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 คน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 7 คน
ปริญญาตรี จำนวน 19 คน
ปริญญาโท จำนวน 1 คน
5
สภาเทศบาลตำบล
สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน โดยสภาเทศบาลตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล 12 คน โดยสมาชิกสภา เทศบาล มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี สภาเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ เทศบาล
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติเทศบาล ร่างเทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี และร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาล เทศบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
นายกเทศมนตรี
นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ นายกเทศมนตรี อาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกินสองคน นายกเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ เทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาล เทศบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
เทศบาล มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ดังนี้
มาตรา 50 ภายใต้บังคับกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

6
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(9) เทศพาณิชย์
เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
มาตรา 16 เทศบาลตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ
7
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมการกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสถานที่อื่น ๆ
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
8
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2.3 โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนราชการและการบริหารบุคคลของเทศบาลตำบล
การจัดโครงสร้างส่วนราชการของเทศบาลตำบล ประกอบด้วย
1. ปลัดเทศบาลตำบล
ให้มีหัวหน้า คือ ปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานวางแผนอัตรากำลัง งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน งานบรรจุ แต่งตั้งการเลื่อนระดับ งานโอน ย้าย งานทะเบียนประวัติและบัตร งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร งานประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความดีความชอบ งานดำเนินการทางวินัย งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ งานเสนอขอเครื่องราชอิสริยภรณ์ และประกาศเกียรติคุณ งานธุรการ งานสารบรรณกลาง งานรัฐพิธี พิธีการต่าง ๆ งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน งานรับรอง งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ งานด้านนิติการ และดำเนินคดี งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการต่าง ๆ งานสิทธิสวัสดิการ ทะเบียนประวัติ การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาเทศบาล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานส่งเสริมประชาธิปไตย งานเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล งานจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานจัดทำระบบข้อมูล (ศูนย์ข้อมูล) งานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี / รายจ่าย เพิ่มเติม งานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนต่าง ๆ งานการจัดการสิ่งแวดล้อม งานประสานหน่วยงานต่าง ๆ ราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับ มอบหมาย
2. กองคลัง
ให้มีหัวหน้ากองคลังเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลังเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับการเบิกจ่าย รับ นำส่ง เก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายและอนุมัติฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่น ๆ งานคำขอเบิกเงิน สวัสดิการต่าง ๆ งานจัดทำบัญชี งานทะเบียนคุมรายได้ รายจ่ายทุกประเภทและจัดทำทะเบียนคุมเงิน งานจัดทำงบทดลอง งบแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน งบหนี้สิน-เจ้าหนี้ และเงินสะสมประจำเดือนประจำปี งานจัดทำ
9
ข้อมูลสถิติการคลัง งานควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุ งานเกี่ยวกับซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุ งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สิน งานการ ควบคุมรับ จ่ายพัสดุ งานตรวจสอบการรับ จ่ายพัสดุประจำปี งานเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน งานจัดเก็บภาษีงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
3. กองช่าง
ให้มีหัวหน้ากองช่างเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่างเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสำรวจและจัดทำโครงการ งานออกแบบและเขียนแบบ งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่าง ๆ งานการควบคุมอาคาร งานจัดทำแผนที่และแผนผังต่าง ๆ งานประมาณโครงการต่าง ๆ งานเกี่ยวกับการ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลงานของกองช่าง งานกำหนดราคากลางของวัสดุและงานต่าง ๆ ของ ท้องถิ่น งานวางแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานควบคุมการก่อสร้าง งานคุมการซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค งานเกี่ยวกับการ งานระบายน้ำ งานสนามกีฬาเทศบาล งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
4. กองสาธารณสุข
ให้มีหัวหน้ากองสาธารณสุข เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ของกองสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุข การควบคุมโรคติดต่อ การดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชากร และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
5. กองการศึกษา
ให้มีหัวหน้ากองการศึกษาเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษาเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมการกีฬา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการศึกษา งานสังคมสงเคราะห์ งานห้องสมุดประชาชน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
อัตรากำลังพนักงานเทศบาลและลูกจ้าง
1. พนักงานเทศบาลสามัญ จำนวน 24 คน
2. ลูกจ้างประจำ จำนวน 3 คน
3. พนักงานจ้าง จำนวน 17 คน
2.4 งบประมาณ
รายรับ–รายจ่ายของเทศบาล ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา


2.5 เครื่องมืออุปกรณ์ในการบริหาร
รถยนต์กระบะ 4 ประตู 1 คัน
รถดับเพลิง 2 คัน
รถกระเช้าไฟฟ้า 1 คัน
รถบรรทุกน้ำ 1 คัน
รถเก็บขยะมูลฝอย 1 คัน
รถจักรยานยนต์ 2 คัน
คอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง

แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา
เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของเทศบาลมากขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์สามารถที่จะใช้ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตได้ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จึงพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. งานทะเบียนราษฎร ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะต้องจัดเก็บไว้ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ - สกุล เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์จึงสามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี
2. งานการเงินและบัญชี งานการเงินและบัญชีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานเทศบาลฯ การเงินจะเกี่ยวข้องกับการเก็บเงิน ภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการเบิกจ่ายเงิน ส่วนบัญชีนั้นจะเก็บข้อมูลการใช้เงินหลังจากที่เบิกจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานการเงินและบัญชี
11
ที่ทำอยู่ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะตอบสนองผู้รับบริการได้ แต่ต้องใช้เวลาทำนานบางทีไม่ทันกับความต้องการใช้ นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลทำไม่ค่อยละเอียด ดังนั้น การจำแนกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงทำไม่ได้ ทำให้ยากต่อการตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ระบบที่จะนำมาใช้ด้านการเงินและบัญชีจะต้องเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เงินจำแนกตามแผนงาน โครงการ ประเภทเงิน รายการใช้เงิน วันที่เบิกจ่ายและรายการอื่น ๆ ซึ่งเทศบาลฯ เล็งเห็นความจำเป็นจึงได้คอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเงินและบัญชี
3. งานแผนงาน เนื่องจากฝ่ายแผนงานของเทศบาลฯ จะต้องควบคุมดูแลการใช้เงินให้เป็นไปตามโครงการและแผนงานที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี นอกจากนี้ยังติดตามโครงการต่าง ๆ ด้วยระบบงานที่เกี่ยวกับงานแผนงานข้อมูลที่จัดเก็บจะเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการซึ่งได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่จะใช้ ระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้นอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกเงินแต่ละครั้ง ระบบนี้จะต้องเชื่อมต่อกับระบบการเงิน และเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถตรวจสอบการใช้เงิน และเงินเหลือจ่ายในแต่ละโครงการได้
4. งานพัสดุ เทศบาลฯ มีครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานมากครุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องจัดซื้อจัดหามา เมื่อได้มาแล้วจะต้องจัดการลงทะเบียนแล้วนำไปเก็บหรือใช้ในกองต่าง ๆ ในแต่ละปี จะต้องมีการสำรวจสภาพของครุภัณฑ์ ถ้าสภาพชำรุดก็จะต้องมีการซ่อมแซมหรือจำหน่ายตามระเบียบงานพัสดุ ถ้าครุภัณฑ์สูญหายถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะตามระเบียบแล้วครุภัณฑ์จะสูญหายไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเกิดการสูญหายขึ้นมาจะต้องตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของการหายและจะต้องหาผู้รับผิดชอบ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ได้เทศบาลได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสะดวกในการตามหายิ่งขึ้น
5. งานบุคลากร เทศบาลฯ เล็งเห็นว่างานบริหารบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจะต้องเอาใจใส่ในงานบริหารบุคลากร ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของหน่วยงานนั้นขึ้นอยู่กับบุคลากร ผู้บริหารจะต้องรู้ประวัติของบุคลากรเป็นอย่างดี ไม่ว่าประวัติส่วนตัว ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการศึกษา การอบรม และประวัติการผลิตผลงานที่เสริมสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ประวัติเหล่านี้ถ้าบันทึกอยู่ในกระดาษจะยากแก่การค้นหา ดังนั้น ถ้านำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบุคลากรจะทำให้สะดวกมากขึ้น
6. งานสารบรรณ งานสารบรรณของเทศบาลฯ เกี่ยวข้องกับการรับและส่งหนังสือราชการทั้งหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน ในอดีตงานสารบรรณใช้ระบบที่ทำด้วยมือ (Manual system) แต่ได้นำซอฟต์แวร์งานสารบรรณมาใช้แล้วจะสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มาก ระบบงานสารบรรณควรมีการทำงาน ดังนี้
(1) การรับหนังสือเข้า เมื่อมีเอกสารเข้า สารบรรณกลางจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร เช่น หมายเลขเอกสาร ชื่อหน่วยงานเจ้าของเอกสาร วันที่ เรื่อง ชื่อผู้รับ ชื่อผู้ส่ง คำสำคัญสำหรับการค้นหาพร้อมทั้งสแกนตัวหนังสือเข้าเครื่องด้วย
12
(2) การส่งหนังสือไปยังผู้รับ เมื่อสารบรรณกลางบันทึกข้อมูลแล้ว จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยงานย่อย เมื่อสารบรรณของหน่วยงานย่อยเปิดเครื่องดูจะรู้ทันทีว่ามีหนังสือเข้าจะต้องบันทึกรับหนังสือแล้วพิมพ์หนังสือเพื่อให้หัวหน้างานสั่งการ แล้วมอบให้ผู้รับผิดชอบดำเนิน (ในกรณีที่ผู้บริหารจะมอบหมายหรือสั่งการให้ใครทำ ผู้บริหารจะต้องเซ็นสั่งการแล้วจึงสแกนภาพหนังสือ แต่ถ้าทำงานในระบบกระดาษ สารบรรณกลางจะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ผู้รับผิดชอบ)
(3) การส่งหนังสือออก เมื่อผู้รับผิดชอบได้รับเอกสารแล้วและดำเนินการตอบ แล้วส่งไปยังสารบรรณกลางเพื่อลงทะเบียนการส่งออกต่อไป
(4) การตรวจสอบการเดินทางของเอกสาร ในกรณีที่เจ้าของเอกสารส่งเอกสารมาแล้วแต่ไม่ได้รับคำตอบ ระบบจะต้องตรวจสอบได้ว่าหนังสือไปถึงผู้รับหรือยัง
7. การให้บริการอินเตอร์เน็ตตำบล การให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนเทศบาลได้ศึกษาหาความรู้ในการให้บริการและได้จัดให้มีมุมบริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก

โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว
ในปัจจุบันเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบงานต่าง ๆ ทำให้แต่ละงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ดังมีรายละเอียดงานที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ดังต่อไปนี้
1. งานทะเบียนราษฎร ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะต้องจัดเก็บไว้ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ - สกุล เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์จึงสามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี
2. งานการเงินและบัญชี งานการเงินและบัญชีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานเทศบาลฯ การเงินจะเกี่ยวข้องกับการเก็บเงิน ภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการเบิกจ่ายเงิน ส่วนบัญชีนั้นจะเก็บข้อมูลการใช้เงินหลังจากที่เบิกจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานการเงินและบัญชี
ที่ทำอยู่ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะตอบสนองผู้รับบริการได้ แต่ต้องใช้เวลาทำนานบางทีไม่ทันกับความต้องการใช้ นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลทำไม่ค่อยละเอียด ดังนั้น การจำแนกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงทำไม่ได้ ทำให้ยากต่อการตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ระบบที่จะนำมาใช้ด้านการเงินและบัญชีจะต้องเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เงินจำแนกตามแผนงาน โครงการ ประเภทเงิน รายการใช้เงิน วันที่เบิกจ่ายและรายการอื่น ๆ ซึ่งเทศบาลฯ เล็งเห็นความจำเป็นจึงได้คอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเงินและบัญชี


13
3. งานแผนงาน เนื่องจากฝ่ายแผนงานของเทศบาลฯ จะต้องควบคุมดูแลการใช้เงินให้เป็นไปตามโครงการและแผนงานที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี นอกจากนี้ยังติดตามโครงการต่าง ๆ ด้วยระบบงานที่เกี่ยวกับงานแผนงานข้อมูลที่จัดเก็บจะเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการซึ่งได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่จะใช้ ระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้นอาจเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับการเบิกเงินแต่ละครั้ง ระบบนี้จะต้องเชื่อมต่อกับระบบการเงิน และเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถตรวจสอบการใช้เงิน และเงินเหลือจ่ายในแต่ละโครงการได้
4. งานพัสดุ เทศบาลฯ มีครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานมากครุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องจัดซื้อจัดหามา เมื่อได้มาแล้วจะต้องจัดการลงทะเบียนแล้วนำไปเก็บหรือใช้ในกองต่าง ๆ ในแต่ละปี จะต้องมีการสำรวจสภาพของครุภัณฑ์ ถ้าสภาพชำรุดก็จะต้องมีการซ่อมแซมหรือจำหน่ายตามระเบียบงานพัสดุ ถ้าครุภัณฑ์สูญหายถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะตามระเบียบแล้วครุภัณฑ์จะสูญหายไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเกิดการสูญหายขึ้นมาจะต้องตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของการหายและจะต้องหาผู้รับผิดชอบ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ได้เทศบาลได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสะดวกในการตามหายิ่งขึ้น
5. งานบุคลากร เทศบาลฯ เล็งเห็นว่างานบริหารบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจะต้องเอาใจใส่ในงานบริหารบุคลากร ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของหน่วยงานนั้นขึ้นอยู่กับบุคลากร ผู้บริหารจะต้องรู้ประวัติของบุคลากรเป็นอย่างดี ไม่ว่าประวัติส่วนตัว ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการศึกษา การอบรม และประวัติการผลิตผลงานที่เสริมสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ประวัติเหล่านี้ถ้าบันทึกอยู่ในกระดาษจะยากแก่การค้นหา ดังนั้น ถ้านำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบุคลากรจะทำให้สะดวกมากขึ้น
6. งานสารบรรณ งานสารบรรณของเทศบาลฯ เกี่ยวข้องกับการรับและส่งหนังสือราชการทั้งหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน ในอดีตงานสารบรรณใช้ระบบที่ทำด้วยมือ (Manual system) แต่ได้นำซอฟต์แวร์งานสารบรรณมาใช้แล้วจะสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มาก ระบบงานสารบรรณควรมีการทำงาน ดังนี้
(1) การรับหนังสือเข้า เมื่อมีเอกสารเข้า สารบรรณกลางจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร เช่น หมายเลขเอกสาร ชื่อหน่วยงานเจ้าของเอกสาร วันที่ เรื่อง ชื่อผู้รับ ชื่อผู้ส่ง คำสำคัญสำหรับการค้นหาพร้อมทั้งสแกนตัวหนังสือเข้าเครื่องด้วย
(2) การส่งหนังสือไปยังผู้รับ เมื่อสารบรรณกลางบันทึกข้อมูลแล้ว จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยงานย่อย เมื่อสารบรรณของหน่วยงานย่อยเปิดเครื่องดูจะรู้ทันทีว่ามีหนังสือเข้าจะต้องบันทึกรับหนังสือแล้วพิมพ์หนังสือเพื่อให้หัวหน้างานสั่งการ แล้วมอบให้ผู้รับผิดชอบดำเนิน (ในกรณีที่ผู้บริหารจะมอบหมายหรือสั่งการให้ใครทำ ผู้บริหารจะต้องเซ็นสั่งการแล้วจึงสแกนภาพหนังสือ แต่ถ้าทำงานในระบบกระดาษ สารบรรณกลางจะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ผู้รับผิดชอบ)
14
(3) การส่งหนังสือออก เมื่อผู้รับผิดชอบได้รับเอกสารแล้วและดำเนินการตอบ แล้วส่งไปยังสารบรรณกลางเพื่อลงทะเบียนการส่งออกต่อไป
(4) การตรวจสอบการเดินทางของเอกสาร ในกรณีที่เจ้าของเอกสารส่งเอกสารมาแล้วแต่ไม่ได้รับคำตอบ ระบบจะต้องตรวจสอบได้ว่าหนังสือไปถึงผู้รับหรือยัง
7. การให้บริการอินเตอร์เน็ตตำบล การให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนเทศบาลได้ศึกษาหาความรู้ในการให้บริการและได้จัดให้มีมุมบริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก

ผลที่วัดได้จากการพัฒนา
การที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวัดได้จากผลการประเมินความพึงพอใจในงานด้านการบริการที่มีคะแนนในระดับสูง เช่น งานทะเบียนราษฎร งานการจัดเก็บภาษี และงานการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลสวนผึ้ง เป็นต้น

ข้อเสนอแนะต่อองค์กร
ควรมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานให้เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณงานที่ต้องดำเนินการ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงพอแล้ว แต่ในอนาคตควรจัดให้มีปริมาณเพียงพอต่อปริมาณงาน

บทสรุป
การบริหารงานในปัจจุบัน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้มากมาย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารและพัฒนาการทางเทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ที่ตามทันเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษา การบริหารงาน หรือแม้แต่การทำงาน ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบัน เราจะพบว่า ทุกหน่วยงานได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้พร้อมทั้งติดตั้งอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน การเก็บข้อมูลประชาชน การเก็บข้อมูลพื้นฐาน การจัดซื้อจัดจ้าง การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้กับประชาชน ตลอดจนการให้ประชาชนใช้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีด้วย ผู้บริหารที่ไม่สนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการให้บริการประชาชน ซึ่งก็จะทำให้งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ฟรีสแมน (Freedman, 1996) ได้ให้ความหมายของระบบเครือข่ายว่า หมายถึง (1) การจัดลำดับขององค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยง (2) การสื่อสารที่มีช่องทางในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้ใช้และเซอร์ฟเวอร์ที่มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันมาแรน (Maran, 1996) ให้ความหมายของระบบเครือข่ายว่า หมายถึง แหล่งรวมของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันและกัน เพื่อที่จะใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน
งามนิจ อาจอินทร์ (2542) ให้ความหมายของคำว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ว่า หมายถึง กลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดิสค์ เทป เครื่องพิมพ์ ฯลฯ ร่วมกันได้ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานทั้งในภาครัฐ หรือเอกชนที่มีการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างก็ต้องรับผิดชอบเครือข่ายของตน
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน ผ่านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลงเครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ เครือข่ายสามารถเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่าย อินเทอร์เน็ต

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


เมื่อกล่าวถึงคำว่า “คุณภาพ” ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานหรือชี้ตัววัดประสิทธิภาพต่างๆ ที่จะช่วยให้เราคาดหมายสิ่งที่เราต้องการจะวัด ว่ามีคุณภาพเพียงใด ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราขับรถตามรถคันหน้าที่มีสภาพ บุบบิบ ปุปุ ปะปะ หลายแห่ง แถมที่ท้ายรถยังมีข้อความว่า “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” เราคงต้องชะลอความเร็วลงหน่อยแล้วชั่งใจตัวเองว่าจะขับรถตามคันหน้าต่อไปดีไหมนั้นเพราะเราประเมินคุณภาพการขับรถคันหน้าจากสภาพที่เราเห็น

ในเรื่องสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้นก็คงเช่นเดียวกัน ในลักษณะของผู้ชมผู้ใช้สื่อดังกล่าว จะให้ความสนใจกับสภาพทีเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นประการแรกก่อน แต่แค่สภาพที่เห็นในการวัดคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่านั้นยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะจัดทำเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการเป็นหลัก (ถนอมพร, 2541 : 8-10) คือ





หมายถึงเนื้อหาสาระ (content) ที่ผู้ผลิตพัฒนารวบรวมเรียบเรียงมาอย่างดีแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในลักษณะของการนำเสนอนั้นอาจแตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบ และเนื้อหานี่เองจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกมทั่วไปที่มุ่งแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน




กล่าวคือสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนได้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ เช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับของการเรียน และการควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ




หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือผู้สอนในขณะนั้น การโต้ตอบที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ออกแบบให้เหมาะสม สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ




ซึ่งตามแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) การให้ผลป้อนกลับจะเป็นการเสริมแรง (reinforcement) อย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดี ลักษณะของการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีที่จะช่วยแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับสื่อการนพเสนออื่น คือ การให้ผลป้อนกลับในลักษณะของการประเมินความเจ้าใจของผู้เรียน

ฉะนั้นภาพรวมของเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไป จึงให้ความสำคัญในเรื่องเนื้อหา (content) และการออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional design) เป็นหลัก

เนื้อหาบทเรียนที่ดีจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชา เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย โครงสร้างเนื้อหาชัดเจนมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง นั่นคือควรจะต้องมีการออกแบบบทเรียนที่ดี นำทางผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและจำเนื้อหาได้ มีการจัดระบบเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนหรือปูพื้นความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ มีลำดับขั้นตอนของการนำเสนอความยากง่าย มีการนำเสนอวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา เค้าโครงเนื้อหาอย่างกว้างๆ ผู้เรียนจะสามารถผสมรายละเอียดส่วนย่อยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพขึ้น ที่สำคัญเนื้อหาควรจะนำเสนอได้ตรงและครอบคลุมตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เหมาะสมกับระดับความยากง่ายของผู้เรียนและมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งตัวสะกด ไวยากรณ์ข้อความและการออกเสียง



และตามหลักจิตวิทยา การดึงดูดความสนใจถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะนำพาให้ผู้เรียนไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ดีควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใครและปฏิบัติได้จริงไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง ให้โอกาสผู้เรียนควบคุมลำดับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีแบบฝึกปฏิบัติหรือแบบฝึกหัดและการประเมินผลที่ครอบคลุมจุดประสงค์ เพราะการวัดและการประเมินผลจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่ควรจะขาดหายไป การวัดและการประเมินผลก่อนเริ่มต้นเรียนเป็นการกระทำเพื่อจัดวางตำแหน่งของผู้เรียนเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานจำเป็นเพียงพอต่อการเรียนหรือไม่


ส่วนการประเมินผลในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะเรียนและการประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนจะเป็นการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการให้ผลป้อนกลับ (feedback) เพื่อเสริมแรงอย่างเหมาะสม การให้ผลป้อนกลับที่ดีควรจะเป็นผลป้อนกลับในเชิงบวก (positive) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกที่ดี เช่น การให้คำชม การให้รางวัลมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าทำถูกหรือทำผิดอย่างไร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมแรงแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามคิดหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไป แต่ทั้งหมดนี้ข้อสำคัญอย่างหนึ่งของการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่ผู้ผลิตและพัฒนาต้องคำนึงถึงก็คือ ระบบจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เป็น เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

นอกจากในเรื่องของเนื้อหา และการออแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์หลักๆ ในการประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เกือบทุกค่ายหรือทุกๆ สำนักที่จัดประกวดหรือตรวจประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะวางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้ชื่อ เรียกแตงต่างกันออกไปแล้ว เกณฑ์ประกอบอื่นในทัศนะของผู้เขียนที่เห็นว่าสำคัญก็คือเรื่องของการออกแบบหน้าจอ (screen design) เอกสารหรือคู่มือประกอบและเทคนิคที่ใช้ในการผลิต



การออกแบบหน้าจอ ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีก็คือรูปลักษณ์ที่เราเห็นที่หน้าจอคอมพิวเตอร์แต่ก็ไม่ใช่เพียงการมองผ่านแค่บางหน้าจอ หากต้องเป็นการมองเพื่อพิจารณาต่อเนื่องตลอดทั้งเรื่อง ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีควรจะมีการจัดวางองค์ประกอบที่หน้าจอได้อย่างเหมาะสม สวยงาม ง่ายต่อการใช้รูปแบบตัวอักษรมีขนาด สี ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ใช้สีได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สื่อความหมายสอดคล้องกับแนวของเนื้อหา การใช้ปุ่มข้อความ หรือแถบข้อความ หรือรูปภาพ ชัดเจนเหมาะสมและถูกต้อง เพราะปุ่มจะเป็นสิ่งกำหนดการเดินทางเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าไปยังบทเรียนได้ตามความประสงค์การใช้กราฟิกเป็นปุ่มกำหนดทิศทางทำให้ดูน่าสนใจ แต่ข้อเสียคือ หากใช้ขนาดไม่เหมาะสมอาจใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลนาน ดูเกะกะ และถ้าใช้เอฟเฟ็กต์ในการแสดงปุ่มมากไป ผู้ใช้ก็จะไม่เข้าใจ จึงควรมีความสม่ำเสมอในการใช้ปุ่ม สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสากล เช่น การกำหนดทิศทางใช้ลูกศร ผู้ใช้จะเข้าใจง่ายสะดวกขึ้น

ในการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะหวังผลให้ได้เต็มประสิทธิภาพของสื่อ เอกสารหรือคู่มือประกอบย่อมเป็นเรื่องจำเป็น ต้องเป็นที่ยอมรับกันว่า ณ ปัจจุบันในประเทศไทยของเรา พื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนทุกคนไม่เท่ากัน ฉะนั้นการมีคู่มือการใช้โปรแกรมที่ดี จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น



ในเรื่องของเทคนิคที่ใช้ในการผลิตนั้น จะเป็นเกณฑ์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะมาช่วยควบคุมคุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเป็นตัวช่วยที่จะแบ่งประเภทของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ชัดเจนในลักษณะของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ (standalone) และระบบที่ใช้ผ่านเว็บอันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้งในขณะนี้

เพราะสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบที่ใช้ผ่านเว็บจะต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browaer) เป็นเครื่องมืออ่านเอกสารบนเว็บ ที่เรารู้จักกันดีคือ Internet Explorer และ Netscape เพราะมีลงอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องแล้ว ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทันที

ในส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราจะใช่ผ่านเว็บสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภท Web Authoring เช่น Front Page, Dreamweaver ฯลฯ พวกนี้สามารถแสดงผลได้ทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ และผ่านเว็บ แต่อีกประเภทหนึ่งคือ Web Programming เช่น ASP, CGI, PHP ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมสำหรับประมวลผลข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูลผู้เรียน ระบบประเมินผลผู้เรียน (คลังข้อสอบ) ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถแสดงผลให้เห็นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ

ฉะนั้นเกณฑ์ในเชิงเทคนิคที่จะใช้ประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งสองประเภทจึงต้องแตกต่างกัน ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ เกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาคือสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่ผู้พัฒนากำหนดได้โดยไม่มีปัญหา นั่นหมายถึงว่าต้องมีการทดสอบโปรแกรมมาอย่างดีก่อน มีระบบการเข้าสู่โปรแกรมโดยอัตโนมัติ (autorun) หรือมีระบบการติดตั้งโปรแกรม (installation) การแสดงผลภาษาไทยถูกต้อง ภาพและเสียงที่ใช้ประกอบแสดงผลได้ถูกต้อง รวดเร็ว

สำหรับเกณฑ์ในเชิงเทคนิคของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบผ่านเว็บที่แตกต่างออกไปก็ควรพิจารณาที่การแสดงผลได้อย่างถูกต้องผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer หรือ Netscape ความถูกต้องของ Web Programming รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ ทั้งภายในตัวสื่อและระหว่างเว็บ ทั้งนี้รายละเอียดหลีกย่อยของเกณฑ์ในเชิงเทคนิคยังมีอีกมาก เช่น Version ของเบราว์เซอร์ที่จะใช้ ความแตกต่างของ Web Programming ต่างๆ ที่ถูกสร้างและพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นเกณฑ์ในส่วนนี้จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจึงจะสามารถประเมินคุณภาพสื่อได้อย่างถูกต้อง



จากทั้งหมดที่กล่าวมาคงเป็นแนวทางคร่าวๆ ของการประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สื่อได้อย่างมีคุณภาพในเบื้องต้นซึ่งคงจะไม่ใช่เพียงการมองรูปลักษณ์ที่เห็นเท่านั้น

ก็คงเหมือนกับที่เราขับรถตามหลังรถที่มีข้อความ “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” ในตอนต้น แต่เผอิญว่าวันนี้ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม เป็นคนขับ ไม่ใช่ นายเก่ง ลุยทุกเรื่อง เจ้าของตัวจริงขับ เราก็คงจะขับรถตามรถที่ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม ขับไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย แม้ในเบื้องต้นจะไม่มั่นใจในสภาพที่ตาเห็นเท่าไรนักก็ตาม