วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการดำเนินการสร้างนวัตกรรม

 1.   ขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน

1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การเก็บรวบรวมข้อมูล  เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนจัดทำนวัตกรรม 

1.2  ออกแบบ เขียนแบบ    เตรียมวัสดุ  เตรียมอุปกรณ์  เครื่องมือ  จัดเตรียมบุคลากรและงบประมาณให้เหมาะสมเพียงพอกับการวางแผนจัดทำนวัตกรรม

1.3 พิจารณาลำดับ  การทำงานแต่ละขั้นตอนต้องใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม  เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร  ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการทำงานแต่ขั้นตอนให้คุ้มค่ามากที่สุด  เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมการหรือเพื่อวางแผนการทำงานต่อไป

2.   ขั้นดำเนินการ

2.1 ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้

2.2 ตรวจสอบและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในรายการ 

2.3 พิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติ 

2.4 ออกแบบและพิจารณาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม

3.  ขั้นตรวจสอบ        

          1. ตรวจสอบความพร้อมของวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  บุคลากร  ฯลฯ  หากพบว่าไม่พร้อมให้แก้ไขทันที

          2. ตรวจสอบวิธีการทำงานแต่ละขั้นตอน  เพื่อต้องการทราบว่าขั้นตอนการทำงานเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้หรือไม่  เช่น  การใช้เครื่องมือ  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์ให้เหมาะสม  เกิดประโยชน์  ประหยัดเป็นต้น  อีกทั้งต้องมีความปลอดภัย  หากการทำงานแต่ละขั้นตอนไม่เรียบร้อยจะต้องหาวิธีแก้ไขทันที

            4.  ขั้นพัฒนา ปรับปรุง

          ขั้นนำผลการปฏิบัติงานในส่วนที่ประสานผลสำเร็จมาใช้  โดยจะนำจุดเด่นของการงานมาออกแบบหรือจัดทำนวัตกรรม  เพื่อพัฒนาให้งานมีผลผลิตสูงขึ้น  หรือในกรณีที่ผลงานประสบปัญหา  ต้องนำปัญหามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการทำงานต่อไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

หลักการตรวจสอบและประเมินผลการทำงาน

1.  การประเมินก่อนการดำเนินการ  เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในการทำงานตั้งแต่วัตถุประสงค์ในการทำงาน  ทรัพยากรที่ใช่ในการทำงาน  ได้แก่วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  งบประมาณ  ความพร้อมของบุคลากร  สถานที่ทำงาน  ว่ามีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่  เพียงใด  การประเมินดังกล่าวได้แก่การสอบถาม  สังเกต  หรือสัมภาษณ์

2.  การประเมินระหว่างดำเนินการ  เป็นการประเมินกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่

ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  เป็นการประเมินตามสภาพความเป็นจริงของการทำงาน  โดยสังเกต  สอบถาม  หรือสัมภาษณ์

            3.  การประเมินหลังการดำเนินการ  เป็นการประเมินความสำเร็จของการวางแผนการทำงานหรือผลงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์  มีความคิดสร้างสรรค์  มีความสวยงาม  มีความคงทน  ผลงานสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด  ฯลฯ  การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินตามสภาพความเป็นจริง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น