วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

บทความทางวิชาการเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา ในรายวิชา 1065703 การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอต่ออาจารย์สมคิด

ความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิชานี้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาองค์กรในแง่ของระบบสารสนเทศ ความสำคัญและบทบาทของระบบสารสนเทศในการบริหาร การสื่อสารและเครือข่ายการสร้างระบบสารสนเทศ นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา การนำนวัตกรรมมาใช้ใน การบริหารการศึกษา นวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ การบริหารระบบสารสนเทศ และการบริหารระบบสารสนเทศในองค์กรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เอกสารฉบับนี้ จึงได้นำมาประมวลเป็นเอกสารบทความฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาต่อไป

มนัญญา แย้มอรุณ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 5 . วันที่ 7 กันยายน 2550

คำนำ (1)
สารบัญ (2)
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง 1
ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง 2
แนวคิดที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยี 11
โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว 13
ผลที่วัดได้จากการพัฒนา 15
ข้อเสนอแนะต่อองค์กร 15
บทสรุป 14
เอกสารอ้างอิง 15


(2)
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน
ในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
บทนำ
การบริหารงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการศึกษาหรือการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้มากมาย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารและพัฒนาการทางเทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ที่ตามทันเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษา การบริหารงาน หรือแม้แต่การทำงานทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบัน เราจะพบว่าทุกหน่วยงานได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้พร้อมทั้งติดตั้งอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน การเก็บข้อมูลประชาชน การเก็บข้อมูลพื้นฐาน การจัดซื้อจัดจ้าง การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้กับประชาชน ตลอดจนการให้ประชาชนใช้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีด้วย ผู้บริหารที่ไม่สนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการให้บริการประชาชน จะทำให้ประชาชน ขาดโอกาสในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ขาดโอกาสที่จะรับรู้ข่าวสารและความก้าวหน้าต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วหากปล่อยให้เวลาผ่านไปมากประชาชนก็จะกลายเป็นคนตกยุคไปเลย
บทความนี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลให้มีความรู้จากการใช้อินเตอร์เน็ต การนำเทคโนโลยีมาให้บริการประชาชนในการจัดเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะนำเสนอเกี่ยวกับเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของทุกกองงานในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น บทความฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้ให้ประชาชนได้รับทราบถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในเทศบาลตำบล สวนผึ้ง ในบทความฉบับนี้ จะนำเสนอในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยี
3. โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว
4. ผลที่วัดได้จากการพัฒนา
5. ข้อเสนอแนะต่อองค์กร
1

ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง
1. ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
1.1.1 สภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลสวนผึ้ง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล มีชื่อว่า “ สุขาภิบาลสวนผึ้ง ” ซึ่งได้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2528 ตามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาฯ ฉบับ - เล่ม 103 ตอนที่ 39 หน้าที่ - ลงวันที่ 11 มีนาคม 2529 โดยมีพื้นที่ครอบคลุมหมู่บ้านที่ 1 หมู่บ้านที่ 2 และหมู่บ้านที่ 4 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เทศบาลตำบลสวนผึ้ง ได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลสวนผึ้ง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542
ที่ตั้ง เทศบาลตำบลสวนผึ้ง มีพื้นที่ 9.34 ตารางกิโลเมตร รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน คือ ตำบลสวนผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1บ้านบ่อ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก และหมู่ที่ 4 บ้าน นาขุนแสน
1.1.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ จรดบ้านห้วยคลุม หมู่ที่ 6 และบ้านนาขุนแสน หมู่ที่ 4
ทิศใต้ จรดบ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 2 และลำห้วยภาชี
ทิศตะวันออก จรดบ้านนาขุนแสน หมู่ที่ 4 ทั้งหมด และสะพานลำห้วยภาชี
ทิศตะวันตก จรดบ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 2 และบ้านแม่สลิ้ง หมู่ที่ 1
1.1.3 เนื้อที่ ประมาณ 9.34 ตารางกิโลเมตร
1.1.4 ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับที่ราบเชิงเขาเล็กน้อย มีป่าโปร่งตามภูเขาใน
พื้นที่ทั่วไป ในช่วงฤดูฝนจะเกิดอุทกภัยทุกปี เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้น้อยไม่สามารถเก็บน้ำได้
- ฤดูฝน ฝนตกประมาณเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ปริมาณฝนตกไม่มาก เนื่องจากมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นอยู่
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ธันวาคม – มกราคม จะมีอากาศเย็น – ค่อนข้างหนาว
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จะมีอากาศค่อนข้างร้อน
1.1.5 จำนวนหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านบ่อ (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 4 บ้านนาขุนแสน (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล)
2
1.1.6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง
1.1.7 ประชากร
ราษฎรดั้งเดิมเป็นชนพื้นเมือง ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ มีประชากรทั้งสิ้น 3,013 คน แยกเป็นชาย 1,533 คน หญิง 1,480 คน จำนวนครัวเรือน 1,196 หลังคาเรือน (ยอด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2550)
1.2. สภาพทางเศรษฐกิจ
1.2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักซึ่งประกอบด้วย
- การทำพืชไร่ยืนต้น คือ ส้มโอ,ลำไย,ขนุน,มะม่วง,มะขามหวาน,ยูคาลิปตัส,สะเดา
- การทำพืชไร่ล้มลุก คือ มันสำปะหลัง,ฟักทอง,ฝ้าย,ข้าวโพด,พุทรา,กล้วย,สับปะรด,อ้อย,ผักกาดหัว
- การเลี้ยงสัตว์ คือ ไก่ โค กระบือ สุกร ปลา
- อาชีพค้าขาย เช่น ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มตำ ร้านเบอเกอรี่
1.2.2 หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- มีที่พักนักท่องเที่ยว 2 แห่ง ได้แก่ บ้านทรัพย์คณารีสอร์ท , ยาดารีสอร์ท
- มีร้านอาหาร 3 แห่ง ได้แก่ ร้านครัวตะนาวศรี, ร้านครัวกะเหรี่ยง , ครัวกะหร่าง
1.2.3 ศูนย์ฝึกอาชีพ - แห่ง
1.2.4 สหกรณ์ 1 แห่ง
1.3 สภาพทางสังคม
1.3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ จำนวนนักเรียน 719 คน
2) โรงเรียนวัดนาขุนแสน จำนวนนักเรียน 150 คน
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จำนวนนักเรียน 1,103 คน
1.3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
- โบสถ์ จำนวน 1 แห่ง

3
1.3.3 สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 %
1.3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอสวนผึ้ง 1 แห่ง
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 137 1 แห่ง
1.4 การบริการพื้นฐาน
1.4.1 การคมนาคม
อำเภอสวนผึ้ง เป็นอำเภอติดชายแดนประเทศพม่า เมื่อเดินทางจากกรุงเทพฯ มาตามถนนเพชรเกษม เลี้ยวซ้ายถนนสายจอมบึง ติดต่อกับอำเภอจอมบึง และกิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร โดยมีถนนลาดยางสายสำคัญ ถนนราชบุรี – ผาปก ซึ่งเป็นสายหลักระหว่างอำเภอสู่จังหวัดจะมีรถวิ่งประจำทางสาย บ้านบ่อ – ราชบุรี ทุก ๆ 30 นาที
1.4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอสวนผึ้ง 1 แห่ง
- โทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาลหลายจุด
1.4.3 การไฟฟ้า
- สำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอจอมบึง - สวนผึ้ง
- บ้านเรือนในเขตพื้นที่มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน
1.4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำ 1 แห่ง
- ลำห้วย 2 แห่ง
1.4.5 การประปา
- มีระบบประปาภูมิภาคสวนผึ้ง ให้บริการกับประชาชนทุกครัวเรือน
1.4.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- มีรถดับเพลิง 2 คัน และรถบรรทุกน้ำ 1 คัน ดูแลรับผิดชอบดับเพลิงไหม้ในเขตและนอกเขตเทศบาล และบรรทุกน้ำแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ
4
1.5 ข้อมูลอื่นๆ
1.5.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
- ป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง,ไม้รัง,ไม้ประดู่,ป่าไผ่,และกล้วยไม้ต่าง ๆ
- สัตว์ป่า เช่น ช้าง,เก้ง,เลียงผา,หมูป่า,กระจง,หมี,ลิง,ค่าง,ชะนี,ไก่ป่า,และนก
- แร่ธาตุ เช่น ดีบุก,วุลแฟรม,เลสปาร์,ฟลูร์ไมกา,คอวร์ท
1.5.2 กองทุนส่งเสริมอาชีพ
- กองทุนหมู่บ้านละหนึ่งล้าน (กทบ.)
- กองทุนหมู่บ้านละแสน
1.5.3 กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มผู้ปลูกผัก
- กลุ่มจักรสาน
- กลุ่มเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มทอผ้า
- กลุ่มปลูกข้าวโพด
2. ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพของเทศบาล
1. จำนวนบุคลากร
จำนวน 44 คน
ตำแหน่งในสำนักปลัด จำนวน 18 คน
ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน 6 คน
ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน 4 คน
ตำแหน่งในกองสาธารณสุข จำนวน 10 คน
ตำแหน่งในกองการศึกษา จำนวน 6 คน
2. ระดับการศึกษาของบุคลากร
ประถมศึกษา จำนวน 9 คน
มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 คน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 7 คน
ปริญญาตรี จำนวน 19 คน
ปริญญาโท จำนวน 1 คน
5
สภาเทศบาลตำบล
สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน โดยสภาเทศบาลตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล 12 คน โดยสมาชิกสภา เทศบาล มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี สภาเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ เทศบาล
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติเทศบาล ร่างเทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี และร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาล เทศบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
นายกเทศมนตรี
นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ นายกเทศมนตรี อาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกินสองคน นายกเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ เทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาล เทศบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
เทศบาล มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ดังนี้
มาตรา 50 ภายใต้บังคับกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

6
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(9) เทศพาณิชย์
เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
มาตรา 16 เทศบาลตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ
7
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมการกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสถานที่อื่น ๆ
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
8
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2.3 โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนราชการและการบริหารบุคคลของเทศบาลตำบล
การจัดโครงสร้างส่วนราชการของเทศบาลตำบล ประกอบด้วย
1. ปลัดเทศบาลตำบล
ให้มีหัวหน้า คือ ปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานวางแผนอัตรากำลัง งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน งานบรรจุ แต่งตั้งการเลื่อนระดับ งานโอน ย้าย งานทะเบียนประวัติและบัตร งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร งานประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความดีความชอบ งานดำเนินการทางวินัย งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ งานเสนอขอเครื่องราชอิสริยภรณ์ และประกาศเกียรติคุณ งานธุรการ งานสารบรรณกลาง งานรัฐพิธี พิธีการต่าง ๆ งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน งานรับรอง งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ งานด้านนิติการ และดำเนินคดี งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการต่าง ๆ งานสิทธิสวัสดิการ ทะเบียนประวัติ การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาเทศบาล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานส่งเสริมประชาธิปไตย งานเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล งานจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานจัดทำระบบข้อมูล (ศูนย์ข้อมูล) งานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี / รายจ่าย เพิ่มเติม งานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนต่าง ๆ งานการจัดการสิ่งแวดล้อม งานประสานหน่วยงานต่าง ๆ ราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับ มอบหมาย
2. กองคลัง
ให้มีหัวหน้ากองคลังเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลังเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับการเบิกจ่าย รับ นำส่ง เก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายและอนุมัติฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่น ๆ งานคำขอเบิกเงิน สวัสดิการต่าง ๆ งานจัดทำบัญชี งานทะเบียนคุมรายได้ รายจ่ายทุกประเภทและจัดทำทะเบียนคุมเงิน งานจัดทำงบทดลอง งบแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน งบหนี้สิน-เจ้าหนี้ และเงินสะสมประจำเดือนประจำปี งานจัดทำ
9
ข้อมูลสถิติการคลัง งานควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุ งานเกี่ยวกับซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุ งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สิน งานการ ควบคุมรับ จ่ายพัสดุ งานตรวจสอบการรับ จ่ายพัสดุประจำปี งานเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน งานจัดเก็บภาษีงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
3. กองช่าง
ให้มีหัวหน้ากองช่างเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่างเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสำรวจและจัดทำโครงการ งานออกแบบและเขียนแบบ งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่าง ๆ งานการควบคุมอาคาร งานจัดทำแผนที่และแผนผังต่าง ๆ งานประมาณโครงการต่าง ๆ งานเกี่ยวกับการ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลงานของกองช่าง งานกำหนดราคากลางของวัสดุและงานต่าง ๆ ของ ท้องถิ่น งานวางแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานควบคุมการก่อสร้าง งานคุมการซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค งานเกี่ยวกับการ งานระบายน้ำ งานสนามกีฬาเทศบาล งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
4. กองสาธารณสุข
ให้มีหัวหน้ากองสาธารณสุข เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ของกองสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุข การควบคุมโรคติดต่อ การดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชากร และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
5. กองการศึกษา
ให้มีหัวหน้ากองการศึกษาเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษาเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมการกีฬา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการศึกษา งานสังคมสงเคราะห์ งานห้องสมุดประชาชน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
อัตรากำลังพนักงานเทศบาลและลูกจ้าง
1. พนักงานเทศบาลสามัญ จำนวน 24 คน
2. ลูกจ้างประจำ จำนวน 3 คน
3. พนักงานจ้าง จำนวน 17 คน
2.4 งบประมาณ
รายรับ–รายจ่ายของเทศบาล ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา


2.5 เครื่องมืออุปกรณ์ในการบริหาร
รถยนต์กระบะ 4 ประตู 1 คัน
รถดับเพลิง 2 คัน
รถกระเช้าไฟฟ้า 1 คัน
รถบรรทุกน้ำ 1 คัน
รถเก็บขยะมูลฝอย 1 คัน
รถจักรยานยนต์ 2 คัน
คอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง

แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา
เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของเทศบาลมากขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์สามารถที่จะใช้ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตได้ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จึงพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. งานทะเบียนราษฎร ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะต้องจัดเก็บไว้ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ - สกุล เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์จึงสามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี
2. งานการเงินและบัญชี งานการเงินและบัญชีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานเทศบาลฯ การเงินจะเกี่ยวข้องกับการเก็บเงิน ภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการเบิกจ่ายเงิน ส่วนบัญชีนั้นจะเก็บข้อมูลการใช้เงินหลังจากที่เบิกจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานการเงินและบัญชี
11
ที่ทำอยู่ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะตอบสนองผู้รับบริการได้ แต่ต้องใช้เวลาทำนานบางทีไม่ทันกับความต้องการใช้ นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลทำไม่ค่อยละเอียด ดังนั้น การจำแนกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงทำไม่ได้ ทำให้ยากต่อการตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ระบบที่จะนำมาใช้ด้านการเงินและบัญชีจะต้องเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เงินจำแนกตามแผนงาน โครงการ ประเภทเงิน รายการใช้เงิน วันที่เบิกจ่ายและรายการอื่น ๆ ซึ่งเทศบาลฯ เล็งเห็นความจำเป็นจึงได้คอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเงินและบัญชี
3. งานแผนงาน เนื่องจากฝ่ายแผนงานของเทศบาลฯ จะต้องควบคุมดูแลการใช้เงินให้เป็นไปตามโครงการและแผนงานที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี นอกจากนี้ยังติดตามโครงการต่าง ๆ ด้วยระบบงานที่เกี่ยวกับงานแผนงานข้อมูลที่จัดเก็บจะเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการซึ่งได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่จะใช้ ระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้นอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกเงินแต่ละครั้ง ระบบนี้จะต้องเชื่อมต่อกับระบบการเงิน และเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถตรวจสอบการใช้เงิน และเงินเหลือจ่ายในแต่ละโครงการได้
4. งานพัสดุ เทศบาลฯ มีครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานมากครุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องจัดซื้อจัดหามา เมื่อได้มาแล้วจะต้องจัดการลงทะเบียนแล้วนำไปเก็บหรือใช้ในกองต่าง ๆ ในแต่ละปี จะต้องมีการสำรวจสภาพของครุภัณฑ์ ถ้าสภาพชำรุดก็จะต้องมีการซ่อมแซมหรือจำหน่ายตามระเบียบงานพัสดุ ถ้าครุภัณฑ์สูญหายถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะตามระเบียบแล้วครุภัณฑ์จะสูญหายไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเกิดการสูญหายขึ้นมาจะต้องตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของการหายและจะต้องหาผู้รับผิดชอบ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ได้เทศบาลได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสะดวกในการตามหายิ่งขึ้น
5. งานบุคลากร เทศบาลฯ เล็งเห็นว่างานบริหารบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจะต้องเอาใจใส่ในงานบริหารบุคลากร ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของหน่วยงานนั้นขึ้นอยู่กับบุคลากร ผู้บริหารจะต้องรู้ประวัติของบุคลากรเป็นอย่างดี ไม่ว่าประวัติส่วนตัว ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการศึกษา การอบรม และประวัติการผลิตผลงานที่เสริมสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ประวัติเหล่านี้ถ้าบันทึกอยู่ในกระดาษจะยากแก่การค้นหา ดังนั้น ถ้านำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบุคลากรจะทำให้สะดวกมากขึ้น
6. งานสารบรรณ งานสารบรรณของเทศบาลฯ เกี่ยวข้องกับการรับและส่งหนังสือราชการทั้งหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน ในอดีตงานสารบรรณใช้ระบบที่ทำด้วยมือ (Manual system) แต่ได้นำซอฟต์แวร์งานสารบรรณมาใช้แล้วจะสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มาก ระบบงานสารบรรณควรมีการทำงาน ดังนี้
(1) การรับหนังสือเข้า เมื่อมีเอกสารเข้า สารบรรณกลางจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร เช่น หมายเลขเอกสาร ชื่อหน่วยงานเจ้าของเอกสาร วันที่ เรื่อง ชื่อผู้รับ ชื่อผู้ส่ง คำสำคัญสำหรับการค้นหาพร้อมทั้งสแกนตัวหนังสือเข้าเครื่องด้วย
12
(2) การส่งหนังสือไปยังผู้รับ เมื่อสารบรรณกลางบันทึกข้อมูลแล้ว จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยงานย่อย เมื่อสารบรรณของหน่วยงานย่อยเปิดเครื่องดูจะรู้ทันทีว่ามีหนังสือเข้าจะต้องบันทึกรับหนังสือแล้วพิมพ์หนังสือเพื่อให้หัวหน้างานสั่งการ แล้วมอบให้ผู้รับผิดชอบดำเนิน (ในกรณีที่ผู้บริหารจะมอบหมายหรือสั่งการให้ใครทำ ผู้บริหารจะต้องเซ็นสั่งการแล้วจึงสแกนภาพหนังสือ แต่ถ้าทำงานในระบบกระดาษ สารบรรณกลางจะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ผู้รับผิดชอบ)
(3) การส่งหนังสือออก เมื่อผู้รับผิดชอบได้รับเอกสารแล้วและดำเนินการตอบ แล้วส่งไปยังสารบรรณกลางเพื่อลงทะเบียนการส่งออกต่อไป
(4) การตรวจสอบการเดินทางของเอกสาร ในกรณีที่เจ้าของเอกสารส่งเอกสารมาแล้วแต่ไม่ได้รับคำตอบ ระบบจะต้องตรวจสอบได้ว่าหนังสือไปถึงผู้รับหรือยัง
7. การให้บริการอินเตอร์เน็ตตำบล การให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนเทศบาลได้ศึกษาหาความรู้ในการให้บริการและได้จัดให้มีมุมบริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก

โครงการหรืองานที่ได้พัฒนาแล้ว
ในปัจจุบันเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบงานต่าง ๆ ทำให้แต่ละงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ดังมีรายละเอียดงานที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ดังต่อไปนี้
1. งานทะเบียนราษฎร ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะต้องจัดเก็บไว้ เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ - สกุล เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์จึงสามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี
2. งานการเงินและบัญชี งานการเงินและบัญชีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานเทศบาลฯ การเงินจะเกี่ยวข้องกับการเก็บเงิน ภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการเบิกจ่ายเงิน ส่วนบัญชีนั้นจะเก็บข้อมูลการใช้เงินหลังจากที่เบิกจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานการเงินและบัญชี
ที่ทำอยู่ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะตอบสนองผู้รับบริการได้ แต่ต้องใช้เวลาทำนานบางทีไม่ทันกับความต้องการใช้ นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลทำไม่ค่อยละเอียด ดังนั้น การจำแนกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงทำไม่ได้ ทำให้ยากต่อการตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ระบบที่จะนำมาใช้ด้านการเงินและบัญชีจะต้องเป็นระบบที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เงินจำแนกตามแผนงาน โครงการ ประเภทเงิน รายการใช้เงิน วันที่เบิกจ่ายและรายการอื่น ๆ ซึ่งเทศบาลฯ เล็งเห็นความจำเป็นจึงได้คอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเงินและบัญชี


13
3. งานแผนงาน เนื่องจากฝ่ายแผนงานของเทศบาลฯ จะต้องควบคุมดูแลการใช้เงินให้เป็นไปตามโครงการและแผนงานที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี นอกจากนี้ยังติดตามโครงการต่าง ๆ ด้วยระบบงานที่เกี่ยวกับงานแผนงานข้อมูลที่จัดเก็บจะเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการซึ่งได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่จะใช้ ระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้นอาจเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับการเบิกเงินแต่ละครั้ง ระบบนี้จะต้องเชื่อมต่อกับระบบการเงิน และเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถตรวจสอบการใช้เงิน และเงินเหลือจ่ายในแต่ละโครงการได้
4. งานพัสดุ เทศบาลฯ มีครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานมากครุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องจัดซื้อจัดหามา เมื่อได้มาแล้วจะต้องจัดการลงทะเบียนแล้วนำไปเก็บหรือใช้ในกองต่าง ๆ ในแต่ละปี จะต้องมีการสำรวจสภาพของครุภัณฑ์ ถ้าสภาพชำรุดก็จะต้องมีการซ่อมแซมหรือจำหน่ายตามระเบียบงานพัสดุ ถ้าครุภัณฑ์สูญหายถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะตามระเบียบแล้วครุภัณฑ์จะสูญหายไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเกิดการสูญหายขึ้นมาจะต้องตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของการหายและจะต้องหาผู้รับผิดชอบ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ได้เทศบาลได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสะดวกในการตามหายิ่งขึ้น
5. งานบุคลากร เทศบาลฯ เล็งเห็นว่างานบริหารบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจะต้องเอาใจใส่ในงานบริหารบุคลากร ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของหน่วยงานนั้นขึ้นอยู่กับบุคลากร ผู้บริหารจะต้องรู้ประวัติของบุคลากรเป็นอย่างดี ไม่ว่าประวัติส่วนตัว ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการศึกษา การอบรม และประวัติการผลิตผลงานที่เสริมสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ประวัติเหล่านี้ถ้าบันทึกอยู่ในกระดาษจะยากแก่การค้นหา ดังนั้น ถ้านำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบุคลากรจะทำให้สะดวกมากขึ้น
6. งานสารบรรณ งานสารบรรณของเทศบาลฯ เกี่ยวข้องกับการรับและส่งหนังสือราชการทั้งหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน ในอดีตงานสารบรรณใช้ระบบที่ทำด้วยมือ (Manual system) แต่ได้นำซอฟต์แวร์งานสารบรรณมาใช้แล้วจะสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มาก ระบบงานสารบรรณควรมีการทำงาน ดังนี้
(1) การรับหนังสือเข้า เมื่อมีเอกสารเข้า สารบรรณกลางจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร เช่น หมายเลขเอกสาร ชื่อหน่วยงานเจ้าของเอกสาร วันที่ เรื่อง ชื่อผู้รับ ชื่อผู้ส่ง คำสำคัญสำหรับการค้นหาพร้อมทั้งสแกนตัวหนังสือเข้าเครื่องด้วย
(2) การส่งหนังสือไปยังผู้รับ เมื่อสารบรรณกลางบันทึกข้อมูลแล้ว จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยงานย่อย เมื่อสารบรรณของหน่วยงานย่อยเปิดเครื่องดูจะรู้ทันทีว่ามีหนังสือเข้าจะต้องบันทึกรับหนังสือแล้วพิมพ์หนังสือเพื่อให้หัวหน้างานสั่งการ แล้วมอบให้ผู้รับผิดชอบดำเนิน (ในกรณีที่ผู้บริหารจะมอบหมายหรือสั่งการให้ใครทำ ผู้บริหารจะต้องเซ็นสั่งการแล้วจึงสแกนภาพหนังสือ แต่ถ้าทำงานในระบบกระดาษ สารบรรณกลางจะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ผู้รับผิดชอบ)
14
(3) การส่งหนังสือออก เมื่อผู้รับผิดชอบได้รับเอกสารแล้วและดำเนินการตอบ แล้วส่งไปยังสารบรรณกลางเพื่อลงทะเบียนการส่งออกต่อไป
(4) การตรวจสอบการเดินทางของเอกสาร ในกรณีที่เจ้าของเอกสารส่งเอกสารมาแล้วแต่ไม่ได้รับคำตอบ ระบบจะต้องตรวจสอบได้ว่าหนังสือไปถึงผู้รับหรือยัง
7. การให้บริการอินเตอร์เน็ตตำบล การให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประชาชนเทศบาลได้ศึกษาหาความรู้ในการให้บริการและได้จัดให้มีมุมบริการอินเตอร์เน็ตฟรี เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก

ผลที่วัดได้จากการพัฒนา
การที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวัดได้จากผลการประเมินความพึงพอใจในงานด้านการบริการที่มีคะแนนในระดับสูง เช่น งานทะเบียนราษฎร งานการจัดเก็บภาษี และงานการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลสวนผึ้ง เป็นต้น

ข้อเสนอแนะต่อองค์กร
ควรมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานให้เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณงานที่ต้องดำเนินการ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงพอแล้ว แต่ในอนาคตควรจัดให้มีปริมาณเพียงพอต่อปริมาณงาน

บทสรุป
การบริหารงานในปัจจุบัน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้มากมาย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสารและพัฒนาการทางเทคโนโลยี อยู่ตลอดเวลา เพราะผู้ที่ตามทันเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษา การบริหารงาน หรือแม้แต่การทำงาน ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบัน เราจะพบว่า ทุกหน่วยงานได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้พร้อมทั้งติดตั้งอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน การเก็บข้อมูลประชาชน การเก็บข้อมูลพื้นฐาน การจัดซื้อจัดจ้าง การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้กับประชาชน ตลอดจนการให้ประชาชนใช้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีด้วย ผู้บริหารที่ไม่สนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการให้บริการประชาชน ซึ่งก็จะทำให้งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น